fbpx
ใบเลื่อยไฮสปีดคืออะไร

ใบเลื่อยไฮสปีดคืออะไร


รู้หรือไม่ !!! ใบเลื่อยไฮสปีด ( HSS ) ไม่ได้เป็นใบเลื่อยที่ตัดด้วยความเร็วสูง เหมือนที่หลายๆคนเข้าใจผิดแล้ว ใบเลื่อยไฮสปีด คือ อะไรละ
ตามหลักแล้ว ใบเลื่อยวงเดือนไฮสปีด มีที่มาจาก ชื่อชนิดวัสดุ (Material) ที่ถูกผสมผสานโลหะทางเคมีระหว่าง ทังสเตน (Tungsten) และ โมลิบดีนัม( Molybdenum) ในปริมาณที่สูง เพื่อให้มีความแข็งที่มาก ความเหนียวที่เหมาะสม และ ทนต่อการนำความร้อนเมื่อใบเลื่อยเสียดสีกับชิ้นงาน ถูกเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า DMo5 สามารถตัดโลหะได้แข็งถึง 550 MPa ในบางชิ้นงาน ท่อหรือเพลาโลหะมีความแข็งที่สูงกว่า DMo5 จะทนรับไหว ด้วยเหตุนี้จึงถูกนำมาพัฒนาให้สามารถทนทานต่อวัสดุที่แข็งได้มากขึ้นถึง 700 MPa โดยการที่เพิ่ม โคบอลต์ (Cobalt) ลงไปอีก5% ทำให้ตัดได้นิ่งและนานขึ้น อีกทั้งทนความร้อนได้ดีมากยิ่งขึ้นอีกด้วย วัสดุนี้ถูกเรียกว่า ไฮสปีด Co5
นั่นเอง
ในปัจจุบัน ใบเลื่อยไฮสปีด เหมาะสำหรับงานที่เน้นความละเอียดผิวสวย และมีค่าความคลาดเคลื่อนที่ต่ำ ทำให้ได้รับความนิยมในอุตสาหกรรมตัดท่อและเพลาโลหะเป็นอย่างมาก

ดูสินค้า ใบเลื่อยไฮสปีด ของเราได้ ที่นี้

ธาตุที่สำคัญในบทความนี้

ทังสเตน (Tungsten) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ W
สามารถรวมตัวกับคาร์บอนเป็น คาร์ไบด์ ที่แข็งมาก จึงทำให้เหล็กที่ผสมทังสเตนมีความแข็งมาก หลังจากผ่านการอบชุบ จึงใช้ทำพวกเครื่องมือคม (Cutting Tools) ต่าง ๆ ทำให้เหล็กเหนียวขึ้น และป้องกันไม่ไห้เหล็กเกิดเนื้อหยาบ เนื่องจากการที่เกรนขยายตัว เพิ่มความทนทานต่อการเสียดสีของเหล็ก ดังนั้น จึงนิยมเติมทังสเตนในเหล็กไฮสปีด (Hi-Speed) และเหล็กที่ต้องอบชุบแข็งโดยทั่วไป

ทังสเตน (Tungsten) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ W

โมลิบดีนัม (Molybdenum) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Mo
ปกติจะใช้ผสมรวมกับธาตุอื่น ๆ เป็นตัวลดอัตราการเย็นตัววิกฤต ทำให้อบชุบง่ายขึ้น ป้องกันการเปราะขณะอบคืนตัว (Temper Brittleness) ทำให้เหล็กมีเนื้อละเอียด เพิ่มความทนทานต่อแรงดึงแก่เหล็กมากขึ้น สามารถรวมตัวกับคาร์บอนเป็นคาร์ไบด์ได้ง่ายมาก ดังนั้น จึงปรับปรุงคุณสมบัติในการตัดโลหะ (Cutting) ของเหล็กไฮสปีดได้ดีขึ้น เพิ่มความต้านทานต่อการกัดกร่อน (Corrosion Resistance) แก่เหล็ก อย่างไรก็ตาม เหล็กที่มีโมลิบดินั่มสูงจะตีขึ้นรูปยาก

โมลิบดีนัม (Molybdenum)

โคบอลต์ (Cobalt) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Co 
ไม่ทำให้เกิดคาร์ไบด์ แต่สามารถป้องกันไม่ไห้เหล็กเกิดเนื้อหยาบที่อุณหภูมิสูง ดังนั้น จึงช่วยปรับปรุงให้เหล็กมีความแข็งแรงที่อุณหภูมิสูง ด้วยเหตุนี้ จึงใช้ผสมในเหล็กขึ้นรูปงานร้อน เหล็กทนความร้อน และเหล็กไฮสปีด ธาตุโคบอลต์เมื่อได้รับรังสีนิวตรอนจะเกิดเป็น โคบอลต์ 60 ซึ่งเป็นสารกัมมันตภาพรังสีอย่างรุนแรง ดังนั้น จึงไม่ควรเติมโคบอลต์ลงในเหล็กที่ใช้ทำ
เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู

โคบอลต์ (Cobalt) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Co

อ้างอิงข้อมูลจาก  index (bssteel.co.th)

Comments are disabled.